2551/02/18

สร้างสุขในบ้าน

ความสุขเป็นสิ่งที่มนุษย์ทุกคนต้องการ แหล่งสร้างความสุขที่ดีที่สุดคือครอบครัว เพราะครอบครัวมีทั้งความรักความอบอุ่น ความเข้าใจและเห็นใจให้แก่กัน แต่จากสภาพสังคมในปัจจุบันที่มีแต่ความความเครียดและเปลี่ยนแปลง ทำให้ความสุขในบ้านลดน้อยลง เราจะมีวิธีการอย่างไรในการสร้างสุขในบ้าน
ครอบครัวจะน่าอยู่และมีความสุขถ้าเรา...
- ทำงานบ้านร่วมกันช่วยกันคนละไม้ละมือ
- พูดจาถนอมน้ำใจกัน พูดชื่นชมเมื่อเขาทำดี ขอโทษเมื่อทำผิด
- ทำกิจกรรมผ่อนคลายความเครียดหรือกิจกรรมในโอกาสพิเศษรวมกัน
- รับผิดชอบในหน้าที่ของตนเอง
- ให้โอกาสอีกฝ่ายชี้แจงเห็นผลเมื่อมีข้อข้องใจ
- ให้เวลาความเป็นส่วนตัวของกันและกัน
- เมื่อมีปัญหาที่ไม่สามารถแก้ไขได้ควรหาคนที่ครอบครัวนับถือแนะนำ
ฯลฯ.......ทำแค่นี้ก่อนนะ

2551/02/11

สรุปผลการวิจัย พฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองของผู้ป่วยเบาหวาน

จากผลการวิจัยตอบคำถามการวิจัยได้ดังนี้
1.ผู้ป่วยเบาหวานในเขตรับผิดชอบของสถานีอนามัยบ้านหัวป่าขลู่ส่วนใหญ่มีระดับความรู้เกี่ยวกับโรคเบาหวาน เจตคติต่อโรคเบาหวาน อยู่ในระดับปานกลาง คิดเป็นร้อยละ 57.58 54.55 และส่วนใหญ่ มีการปฎิบัติในการดูแลตนเองของผู้ป่วยเบาหวาน อยู่ในระดับดี 66.67
2.เพศ ระดับการศึกษา อาชีพ สภาพเศรษฐกิจ สิทธิในการรักษาที่แตกต่างกัน มีระดับความรู้เกี่ยวกับโรคเบาหวาน เจตคติต่อโรคเบาหวานและการปฎิบัติในการดูแลตนเองของผู้ป่วยเบาหวานในเขตรับผิดชอบของสถานีอนามัยบ้านหัวป่าขลู่ ไม่แตกต่างกัน
3.ความรู้เกี่ยวกับโรคเบาหวาน กับเจตคติต่อโรคเบาหวาน ของผู้ป่วยเบาหวานในเขตรับผิดชอบของสถานีอนามัยบ้านหัวป่าขลู่ มีความสัมพันธ์กันในทิศทางเดียวกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ0.05 และการปฎิบัติในการดูแลตนเองกับระดับนำ้ตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวานมีความสัมพันธ์ในทิศทางตรงกันข้ามอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ส่วนความรู้เกี่ยวกับโรคเบาหวาน กับการปฎิบัติในการดูแลตนเองของผู้ป่วยเบาหวาน ความรู้เกี่ยวกับโรคเบาหวาน กับระดับนำ้ตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวาน เจตคติต่อโรคเบาหวานกับระดับนำ้ตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวานไม่มีความสัมพันธ์กัน

เรื่อง ที่ศึกษา พฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองของผู้ป่วยเบาหวาน

ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา
โรคเบาหวานเป็นโรคไม่ติดต่อที่กำลังเป็นปัญหาสาธารณสุข ปัจจุบันพมากขึ้นอย่างรวดเร็วทั้งในเมืองและในชุมชนชนบท ผู้ที่เป็นโรคเบาหวานนอกจากจะต้องมีความทุกข์จากภาวะของโรคแล้ว ย้งมักมีความทุกข์ทรมานจากภาวะแทรกซ้อนทั้งเฉียบพลัน และเรื้องรัง ซึ่งอาจเป็นผลให้เกิดความพิการ เป็นภาระต่อตนเอง ครอบครัว และสังคม (วรรณภา ศรีธัญรัตน์, 2540)จากรายงานขององค์การอนามัยโลกแสดงให้เห็นว่า โรคไม่ติดต่อที่พบบ่อยมากและเป็นเหมือนสัญญาณเตือนภัย ได้แก่ มะเร็ง โรคหัวใจและหลอดเลือด และเบาหวาน ซึ่งพบสัดส่วนการตายร้อยละ 49.7 และสัดส่วนการป่วย ร้อยละ 42.2 สำหรับประเทศไทยพบว่าอัตราตายด้วยโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง และหัวใจขาดเลือด ของประชากรไทยระหว่าง พ.ศ.2541-2545สูงขึ้นตามวันเวลาที่สูงขึ้น จากการรวบรวมข้อมูลของสำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ กระทรวงสาธารณสุขพบอัตราตายด้วนโรคเบาหวานเท่ากับ 7.9-11.8 ต่อประชากรแสนคน แต่การรักษาของแพทย์ในปัจจุบันมีแนวทางที่ชัดเจนในการส่งเสริมให้ผู้ป่วยเบาหวานมีชีวิตที่ยืนยาวขึ้นและมีโอกาสมีบุตรหลานสืบทอดลักษณะทางกรรมพันธุ์ของโรคเบาหวานได้มากขึ้น ประกอบกับแบบแผนในการดำเนินชีวิตของประชากรในสังคมปัจจุบันเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมในลักษณะที่ส่งเสริมให้อุบัติการณ์ของโรคเบาหวานสูงขึ้น และปัญหาสำคัญของผู้ป่วยส่วนใหญ่มีภาวะแทรกซ้อนจากเบาหวานในระยะยาวเกือบทั้งสิ้น ดังนั้นผู้ป่วยเบาหวาจึงมักเสียชีวิตจากโรคแทรกซ้อนมากกว่าสาเหตุจากโรคเบาหวานโดยตรง โรคเบาหวานจึงนับว่าเ้ป็นโรคที่ก่อให้เกิดปัญหาทางสาธารณสุขของประเทศไทย เพราะผลกระทบจากความรุนแรงของภาวะแทรกซ้อนดังกล่าวนอกจากจะส่งผลในระดับบุคคลที่ต้องประสบกับความทุกข์ทรมาน พิการและเสียชีวิตแล้วยังกลายเป็นปัญหาในระดับครอบครัว สังคม และในระดับประเทศอีกด้วย
ผู้ป่วยถูกคาดหวังจากบุคลลากรทางการแพทย์เพื่อการรักษาของแพทย์เป้าหมายในการควบคุมโรคเบาหวานในเรื่องต่างๆดังต่อไปนี้ การควบคุมอาหาร การรับประทานยา การออกกำลังกาย การดูแลเท้า และการดูแลสุขภาพโดยทั่วไป โดยพบว่ามีการศึกษาเกี่ยวกับปัจจัยความรู้กับพฤติกรรมการร่วมมือในการรักษา พฤติกรรมการดูแลตนเอง และภาวะการควบคุมโรคเบาหวาน บุคคลจะสามารถแสดงพฤติกรรมหรือแสดงบทบาทในการเป็นผู้ป่วยเบาหวานได้อย่างเหมาะสมและมีภาวะการควบคุมโรคอยู่ในระดับที่น่าพอใจ บุคคลจำเป็นต้องมีความรู้เกี่ยวกับพฤติกรรมที่ถูกคาดหว้ง จากการให้ความรู้หรือคำแนะนำของแพทย์ พยาบาลเป็นผู้ป่วยเบาหวานได้อย่างเหมาะสม และมีภาวะการควบคุมโรคอยู่ในระดับที่น่าพอใจ บุคคลจำเป็นต้องมีความรู้เกี่ยวกับพฤติกรรมที่ถูกคาดหวัง จากการให้ความรู้หรือคำแนะนำของ แพทย์ พยาบาลเป็นสำคัญ หากผู้ป่วยมีความรู้เกี่ยวกับเรื่องโรคเบาหวานและการปฏิบัติดี ผู้ป่วยจะมีการปฎิบัติตามความรู้ที่ได้รับนั้น และมีภาวะการควบคุมโรคเบาหวานที่ดี แม้ผู้ป่วยเบาหวานได้รับการรักษาทางด้านยา แต่ถ้าผู้ป่วยขาดความรู้เรื่องโรคเบาหวาน มีเจตคติที่ไม่ดีต่อโรคเบาหวานและการดูแลสุขภาพตนเอง ที่ไม่ถูกต้องจะทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อน ถึงชีวิตได้ ดังนั้นผู้วิจัยจึงสนใจศึกษาพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยเบาหวาน โดยศึกษาด้านความรู้ เจตคติ และการปฏิบัติในการดูแลตนเองของผู้ป่วยเบาหวานในเขตรับผิดชอบของสถานีอนามัยบ้านห้วป่าขลู่ ตำบลป่าระกำ อำเภอปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช เพื่อนำผลที่ได้เป็นแนวทางในการดำเนินงานพัฒนาการให้ความรู้แก่ผู้ป่วยเบาหวานเพื่อจะก่อให้เกิดเจตคติที่ดี และส่งผลไปยังการปฎิบัติที่ถูกต้อง มีผลต่อการควบคุมระดับนำ้ตาลในเลือดได้อย่างต่อเนื่องต่อไป
วัตถุประสงค์ของการศึกษา
1.เพื่อศึกษาระดับความรู้เกี่ยวกับโรคเบาหวาน เจตคติต่อโรคเบาหวานและการปฎิบัติในการดูแลตนเองของผู้ป่วยเบาหวาน
2.เพื่อเปรียบเทียบปัจจัยด้าน เพศ ระดับการศึกษา อาชีพ สภาพเศรษฐกิจ สิทธิในการรักษา กับระดับความรู้เกี่ยวกับโรคเบาหวาน เจตคติต่อโรคเบาหวาน และการปฎิบัติในการดูแลตนเองของผู้ป่วยเบาหวาน
3.เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความรู้ เจตคติ การปฎิบัติในการดูแลตนเองและระดับนำ้ตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวาน
คำถามของการวิจัย
1.ผู้ป่วยเบาหวานในเขตรับผิดชอบของสถานีอนามัยบ้านหัวป่าขลู่ มีระดับความรู้เกี่ยวกับโรคเบาหวานและการปฏิบัติในการดูแลตนเองอยู่ในระดับใด
2.ผู้ป่วยเบาหวานในเขตรับผิดชอบของสถานีอนามัยบ้านหัวป่าขลู่ ซึ่งมี เพศ ระดับการศึกษา อาชีพ สภาพเศรษฐกิจ สิทธิในการรักษา แตกต่างกัน มีระดับความรู้เกี่ยวกับโรคเบาหวาน เจตคติต่อโรคเบาหวาน และการปฎิบัติในการดูแลตนเองแตกต่างกันหรือไม่
3.ระดับความรู้เกี่ยวกับโรคเบาหวาน เจตคติต่อโรคเบาหวาน การปฎิบัติในการดูแลตนเอง และระดับนำ้ตาลในเลือดมีความสัมพันธ์กันหรือไม่
ประโยชน์ของการวิจัย
1.ได้ทราบถึงระดับความรู้ เจตคติ และการปฎิบัติในการดูแลตนเองของผู้ป่วยเบาหวานในเขตรับผิดชอบของสถานีอนามัยบ้านหัวป่าขลู่ ตำบลป่าระกำ อำเภอปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช
2.เพื่อเป็นข้อมูลเบื้องต้นที่จะใช้เป็นแนวทางในการดำเนินการให้บริการผู้ป่วย ดูแลผู้ป่วยและพัฒนาการให้ความรู้แก่ผู้ป่วยเบาหวานต่อไป
ขอบเขตการวิจัย
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ กลุ่มประชากรที่ใช้ในการศึกษาเป็นผู้ป่วยเบาหวานทุกคนที่ขึ้นทะเบียนเป็นผู้ป่วยเบาหวาน ของสถานีอนามัยบ้านหัวป่าขลู่ ตำบลป่าระกำ อำเภอปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช
ตัวแปรที่ใช้ในการศึกษา
ตัวแปรอิสระ ได้แก่ ปัจจัยด้าน เพศ ระดับการศึกษา อาชีพ สภาพเศรษฐกิจ สิทธิในการรักษา
ตัวแปรตาม ได้แก่ความรู้เกี่ยวกับโรคเบาหวาน เจตคติต่อโรคเบาหวาน การปฎิบัติในการดูแลตนเอง และระดับนำ้ตาลในเลือด
เครื่องมือในการวิจัย
เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูลในการวิจัยเป็บสอบถาม โดยแบ่งเป็น 4 ส่วน
ส่วนที่ 1แบบสอบถามเกี่ยวกับข้อมูลทั่วไป เกี่ยวกับ เพศ อายุ ระดับการศึกษา สถานภาพ สภาพเศรษฐกิจของครัวครอบ สิทธิในการรักษาพยาบาล
ส่วนที่ 2.แบบสอบถามความรู้เกี่ยวกับโรคเบาหวานของผู้ป่วยเบาหวานจำนวน 10 ข้อ
ส่วนที่ 3.แบบวัดเจตคติ วัดเกี่ยวกับความรู้สึกความคิดเห็น ความพร้อมที่จะปฎิบัติเกี่ยวกับโรคเบาหวานมีจำนวน 15 ข้อ
ส่วนที่4.แบบสอบถามด้านการปฎิบัติ สอบถามเกี่ยวกับพฤติกรรมการแสดงออกของผู้ป่วยเบาหวาน มี 15 ข้อ